วันศุกร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้


1. ลักษณะทั่วไปของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นภูมิภาคที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ระหว่างประเทศใหญ่ 2 ประเทศ คือ จีนกับอินเดีย ในอดีตทำให้เรียกดินแดนนี้ว่า เอเชียใน หรือเอเชียกลาง
ส่วนคำว่า เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นคำใช้ครั้งแรกในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2

2. ที่ตั้ง
ตั้งอยู่ในเขตร้อนระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับอ่าวเบงกอล หรือ ระหว่างประเทศอินเดียกับจีน ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย โดยมีเส้นศูนย์สูตรผ่าน เกาะสุมาตรา เกาะบอร์เนียว และเกาะสุลาเวซี (ก.เซลีเบส) ประเทศอินโดนีเซีย

3. ขนาดที่พื้นที่
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ประมาณ 4.6 ล้านตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 10 ประเทศ คือ พม่า ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย บรูไน ฟิลิปปินส์

4. อาณาเขต
1. ทิศเหนือ ติดต่อกับ ประเทศจีน
2. ทิศตะวันออก ติดต่อกับ มหาสมุทรแปซิฟิก
3. ทิศใต้ ติดต่อกับ มหาสมุทรอินเดีย
4. ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อ่าวเบ่งกอล หรืออ่าวเมาะตะมะ ประเทศอินเดีย บังคลาเทศ
1. ลักษณะภูมิประเทศของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แบ่งออกเป็น 2 เขต
1) ลักษณะภูมิประเทศของแผ่นดินใหญ่ หรือคาบสมุทรอินโดจีน แบ่งออกเป็น 3 เขต
1.1 เขตเทือกเขา แบ่งออกเป็น 3 แนว
- แนวเทือกเขาตะวันตก อยู่ทางตะวันตกของประเทศพม่า เรียกว่า เทือกเขาอารกันโยมา เป็นเทือกเขาที่เกิดจากการโก่งตัวของเปลือกโลก และเป็นที่มีแผ่นดินเกิดขึ้นบ่อยครั้ง
- แนวเทือกเขาตอนกลาง อยู่ระหว่างประเทศไทยกับพม่า ได้แก่ เทือกเขาแดนลาว เทือกเขาถนนธงชัย เทือกเขาตะนาวศรี เทือกเขาสันกาลาคีรี ซึ่งเป็นเทือกเขาที่มีอายุเก่าแก่ ผ่านการสึกกร่อนมานาน จึงมีความสูงไม่มากนัก เป็นแหล่งสะสมแร่ธาตุต่าง ๆ เช่น ดีบุก วุลแฟรม
- แนวเทือกเขาตะวันออก อยู่ในประเทศลาวและเวียดนาม เรียกว่า เทือกเขาอันนัม มีความสูงไม่มากนัก เพราะมีอายุเก่าแก่ผ่านการสึกกร่อนมานาน
1.2 เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำ เป็นเขตที่ดินอุดมสมบูรณ์มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น ได้แก่
1) ที่ราบลุ่มแม่น้ำอิรวดี และปากแม่น้ำสาละวิน ในประเทศพม่า
2) ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ในประเทศไทย
3) ที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง ในประเทศกัมพูชาและเวียดนาม
4) ที่ราบลุ่มแม่น้ำแดง ในประเทศเวียดนาม
1.3 เขตที่ราบชายฝั่ง อยู่ทางตะวันออกและทางตอนใต้ของคาบสมุทร ได้แก่ ที่ราบชายฝั่งของเวียดนาม และภาคใต้ของไทย และมาเลเซีย
2) ลักษณะภูมิประเทศของเกาะและหมู่เกาะ มีลักษณะเป็นที่ราบชายฝั่งแคบๆ ตอนในของเกาะพื้นที่เป็นที่สูงและเทือกเขา ได้แก่ หมู่เกาะอินโดนีเซีย หมู่เกาะฟิลิปปินส์ เป็นเขตที่มีแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิด แต่มีดินอุดมสมบูรณ์เพราะเป็นดินภูเขาไฟ มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น

2. ลักษณะภูมิอากาศ แบ่งออกเป็น 3 เขต
1) เขตอากาศป่าดิบชื้น ได้แก่บริเวณประเทศ มาเลเซีย บรูไน อินโดนีเซีย ภาคใต้ของไทย ภาคใต้ของฟิลิปปินส์ (ก. มินดาเนา)
2) เขตอากาศมรสุมเขตร้อน ได้แก่บริเวณชายฝั่งตะวันตกของพม่า ภาคใต้ของไทย ชายฝั่งตะวันตกของกัมพูชา
3) เขตอากาศทุ่งหญ้าเมืองร้อน ได้แก่ พื้นที่ส่วนใหญ่ของพม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม

แหล่งที่มาจาก www.google.com